ทุกคนก็คงมีเครื่องดนตรีที่ตนเองชอบ อยู่แล้วนะคะ ดิฉันเองก็มีเครื่องดนตรีที่ชอบเหมือนกัน นั่นก็คือ กีตาร์ค่ะ กีตาร์มืใช่แค่เครื่องดนตรีที่เล่นๆดีดๆเท่านั้น แต่มันยังเป็นพื่อนยามเหงา สร้างความสนุกเพลิดเพลิน ทุกคนที่ชอบเครื่องดนตรีก็ คงคิดอย่างนั้นกัน สำหรับคนที่สนใจในเรื่องของ กีตาร์ ก็ศึกษาข้อมูล กับหนังสือนี้กันนะค่ะ......กีตาร์ ต่า ต้า คะ..........................
ประวัติของกีต้าร์
เพื่อนหลายๆคนคงจะเล่นกีตาร์เป็น บางคนก็เล่นไม่เป็น แต่ถ้าถามถึงความเป็นมา เชื่อได้เลยว่า คงจะไม่ค่อยรู้กันเป็นแน่ว่า กีตาร์นั้นมีถิ่นกำเนิดและเป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกีตาร์เป็นที่นิยมมากว่า 5,000 ปีเป็นอย่างต่ำ โดยเริ่มเป็นที่นิยมในแถบเอเชียกลาง เรียกว่าซิตาร่า (Sitara) เครื่องดนตรีที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกีตาร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบมีอายุ 3,300 ปี เป็นหินสลักของกวีอาณาจักรโบราณฮิตไตต์
ส่วนคำว่ากีตาร์มาจากภาษาสเปนคำว่า guitarra ซึ่งมาจากภาษากรีกอีกทีคือคำว่า Kithara kithara จากหลายแหล่งที่มาทำให้คำว่ากีตาร์น่าจะมีรากศัพท์มาจากภาษาตระกูลอินโดยูโรเปียน guit- คล้ายกับภาษาสันสกฤต ที่แปลว่า ดนตรี และ -tar หมายถึง คอร์ด หรือ สาย คำว่า qitara เป็นภาษาอาราบิก ใช้เรียก Lute lute ส่วนคำว่า guitarra เกิดขึ้นเมื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้ถูกนำมาที่ Iberia (หรือ Iberian Peninsular เป็นคาบสมุทรทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในทวีปยุโรป) โดย Moors
กีตาร์ในยุคปัจจุบันที่เรารู้จักกันมาจากเครื่องดนตรีที่เรียกว่า cithara ของชาวโรมัน ซึ่งนำเข้าไปแพร่หลายในอาณาจักรฮิสปาเนีย หรือสเปนโบราณ ประมาณ ค.ศ. 40 จากนั้นเปลี่ยนแปลงรูปแบบจนกลายมาเป็น เครื่องดนตรีที่มี 4 สายเรียกว่า อู๊ด (oud) นำเข้ามาโดยชาวมัวร์ในยุคที่เข้ามาครอบครองคาบสมุทรไอบีเรียน ในศตวรรษที่ 8 ส่วนในยุโรปมีเครื่องดนตรีที่เรียกว่า ลุต (lute) ของชาวสแกนดิเนเวียมี 6 สาย ในสมัย ค.ศ. 800 เป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมในกลุ่มชาว(ไวกิ้ง)
ค.ศ. 1200 กีตาร์ 4 สาย มี 2 ประเภท คือ กีตาร่า มอ ริสกา หรือกีตาร์ของชาวมัวร์ มีลักษณะกลม ตัวคอกว้าง มีหลายรู กับกีตาร่า ลาติน่า ซึ่งรูปร่างคล้ายกีตาร์ในปัจจุบัน คือมีรูเดียวและคอแคบ ในศตวรรษที่ 16 เครื่องดนตรีคล้ายกีตาร์ของชาวสเปน ที่เรียกว่าวิฮูเอล่า เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกีตาร์ในปัจจุบัน มีความผสมผสานระหว่างเครื่องดนตรีอู๊ดของชาวอาหรับและลูตของยุโรป แต่ได้รับความนิยมในช่วงสั้น ๆ พบเห็นจนถึงปี 1576
เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่มีรูปลักษณ์เหมือนกีตาร์ในปัจจุบัน เกิดในช่วงยุคปลายของสมัยกลางหรือยุคต้นสมัยเรอเนสซอง (500 กว่าปีที่แล้ว) เป็นช่วงที่มีการใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายกันทั่วโลก ในยุคนั้นกีตาร์มีทั้งแบบ 4 และ 5 สาย สำหรับกีตาร์ที่มี 6 สาย ระบุว่ามีขึ้นในปี 1779 เป็นผลงานของนายแกตาโน วินาซเซีย (Gaetano Vinaccia) ในเมืองเนเปิล อิตาลี แต่ก็ถกเถียงกันว่าอาจเป็นของปลอมสำหรับตระกูลวินาซเซียมีชื่อเสียงในการผลิตแมนโดลินมาก่อน
กีตาร์ไฟฟ้าตัวแรกเริ่มผลิตขึ้นในศตวรรษที่ 20 โดยจอร์จ โบแชมป์ (George Beauchamp) ได้รับสิทธิบัตรในปี 1936 และร่วมกับ ริกเค่นแบ็กเกอร์ (Rickenbacker) ตั้งบริษัท Electro String Instrument ผลิตกีตาร์ไฟฟ้าในช่วงปลายปีทศวรรษที่ 1930 ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1960 จอห์น เลนนอน สมาชิกวงเดอะบีทเทิลส์ใช้กีตาร์ยี่ห้อนี้ ส่งผลให้เครื่องดนตรียี่ห้อนี้มีชื่อเสียงในกลุ่มนักดนตรีในยุคนั้น และในปัจจุบันบริษัทริกเค่นแบ็กเกอร์ เป็นบริษัทผลิตกีตาร์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา
เมื่อเพื่อนๆรู้จักคำว่ากีต้าร์แล้ว ต่อมาเราก็จะมารู้จักประเภทของมันกันว่ามีอะไรบ้าง แล้วทำไมถึงต้องแบ่งประเภทของมันด้วยละ หรือว่าเสียงแต่ละประเภทจะแตกต่าง ทั้งขนาดรูปร่าง หน้าตาของมัน มารู้จักกันเลยค่ะ
ตามที่เรานั้นเคย รู้กันอยู่แล้วว่ากีตาร์นั่นก็มีอยู่สองแบบคือ กีตาร์โปร่ง กับกีตาร์ไฟฟ้า แต่ว่าเราลองมารู้จักกีตาร์ในแต่ละประเภทกันให้มากกว่านี้ดีกว่า
1.กีตาร์โปร่ง หรือ อาคูสติกกีตาร์ นั่นเอง ก็คือกีตาร์ที่มีลำตัวโปร่งไม่ต้องอาศัยไฟฟ้าในการเล่น ซึ่งสามารถที่จะพกพาไปเล่นได้ในทุก ๆ ที่ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรให้วุ่นวาย สามารถแบ่งได้ดังนี้
1.1 กีตาร์คลาสสิก (Classic Guitar) ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของกีตาร์ในยุคปัจจุบันนั่นเองซึ่งมีลักษณะเด่นก็คือมีลูกบิดและแกนพันสายเป็นพลาสติก มีคอหรือฟิงเกอร์บอร์ดที่ใหญ่คือประมาณ 2 นิ้วลักษณะแบนราบ และใช้สายเอ็นหรือไนล่อน ส่วน 3 สายบน(สายเบส) จะทำด้วยไนล่อนหรือใยไหมแล้วพันด้วยเส้นโลหะเช่นเส้นทองแดงหรือบรอนซ์ ซึ่งทำให้มีความนุ่มมือเวลาเล่นไม่เจ็บเหมือน สายโลหะ จึงเหมาะกับคนที่อยากหัดกีตาร์แต่กลัวเจ็บนิ้ว
กีตาร์อีกอย่างที่อยากกล่าวถึงในหัวข้อกีตาร์คลาสสิกคือ กีตาร์ ฟลาเมนโก (flamenco) ซึ่งมีโครงสร้างแทบจะเหมือนกับกีตาร์คลาสสิกทุกประการเนื่องจากได้มีการพัฒนามาจากกีตาร์คลาสสิกนั่นเอง จะต่างกันก็ที่ลำตัวจะบางกว่า และมีปิคการ์ดทั้งด้านบนล่างของโพรงเสียง และสไตล์การเล่นนั่นเองที่จะเป็นแบบสแปนนิสหรือแบบลาตินซึ่งจะมี จังหวะที่ค่อนข้างกระชับและสนุกสนาน
ด้วยเหตุที่ใช้สายไนล่อนนั่นเองทำให้กีตาร์คลาสิกมีเสียงที่ไพเราะนุ่มนวลและคอที่กว้างทำให้ระยะระหว่างสายก็มากขึ้นไปด้วย ซึ่งทำให้การเล่นกีตาร์คลาสสิคนั้นจะสามารถเล่นได้ทั้งการ solo เล่น
chord แล่ bass ได้นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคนิคลูกเล่นต่าง ๆ อีกมากมาย ทำให้การเล่นกีตาร์คลาสสิกนั้นมีความไพเราะมากยิ่งขึ้น แต่ก็ไม่ง่ายนักกว่าจะเล่นได้อย่างที่ว่า นอกจากจะได้ไปเรียนอย่างเป็นจริง
ส่วนต่าง ๆ ของกีตาร์คลาสสิก
กีตาร์โฟล์ค ถือว่าเป็นที่นิยมและรู้จักกันมากที่สุดเนื่องจากหาซื้อง่ายราคาไม่แพงจนเกินไป(ที่แพง ๆ ก็มี) สามารถฝึกหัดได้ง่ายไม่ต้องรู้ถึงทฤษฎีดนตรีมากนัก ใช้เวลาไม่นานก็จะสามารถเล่นเพลงง่าย ๆ ฟังกัน
ในหมู่เพื่อนฝูงได้แล้วแต่จริง ๆ กีตาร์โฟล์คมันมีอะไรมากกว่านั้น ลักษณะทั่ว ๆ ไปคือแกนหมุนและลูกบิดมักเป็นโลหะ คอหรือฟิงเกอร์บอร์ดเล็กกว่ากีตาร์คลาสสิกมีลักษณะโค้งเล็กน้อยรับกับนิ้วมือ แต่มีลำตัว (body) ที่ใหญ่และแข็งแรงกว่ากว่ากีตาร์คลาสสิก ใช้สายที่ทำจากโลหะ เนื่องจากคอกีตาร์ที่เล็กและสายที่เป็นโลหะกีตาร์ประเภทนี้จึงเหมาะกับการเล่นด้วยปิค (flat pick) หรือการเกา (finger picking) ซึ่งเสียงที่ได้จะดังชัดเจน สดใสกว่ากีตาร์คลาสสิก จึงเหมาะกับการเล่นกับดนตรีทั่ว ๆ ไป ซึ่งอาจเล่นเดี่ยวหรือเล่นเป็นวงก็ได้
กีตาร์โฟล์คนั้นมีขนาดและรูปร่างต่าง ๆ กันไปบ้างตามแต่ละความต้องการใช้ประโยชน์ หรือตามแต่ละผู้ผลิตส่วนมากก็จะแบ่งได้เป็น standard folk กีตาร์, jumbo folk กีตาร์ flat top folk กีตาร์ นอกจากนี้ยังมีแบบพิเศษอีกประเภทคือ กีตาร์ 12 สาย(แถวบนขวาสุด) ซึ่งจะมีสายแบ่งเป็น 6 คู่ซึ่งเวลาเล่นก็เล่นเหมือนกีตาร์ทั่ว ๆ ไป เพียงแต่จะได้เสียงที่กังวานและแน่นขึ้น
2. Arch top กีตาร์ เป็นกีตาร์อีประเภทหนึ่งบ้านเราอาจจะไม่ค่อยเห็นคนเล่นมากนักลักษณะทั่ว ๆ ไป จะคล้ายกับกีตาร์โฟล์ค แต่ด้านหน้าจะโค้ง(arch แปลว่าโค้ง) ซึ่งกีตาร์โฟล์คจะแบนราบ และโพรงเสียงจะไม่เป็นแบบช่องกลม แต่จะเป็นรูปตัว f (แค่คล้ายตัว f ที่เป็นตัวเขียนไม่ใช่ตัวพิมนะครับ) อยู่ 2 ช่องบนด้านหน้าของลำตัว ส่วนสะพานยึดสายด้านล่างมักเป็นแบบหางปลา (tail piece) ส่วนมากจะใช้เล่นในดนตรีแจ๊ค
4.Solid Body Electric กีตาร์ ซึ่งก็คือกีตาร์ไฟฟ้าที่เรา ๆ ท่าน ๆ รู้จักกันดีอยู่แล้วซึ่งมีอยู่มากมายหลายแบบแต่ลักษณะเด่นก็คือลำตัวจะเป็นแบบตัน และประกอบด้วย pick up ซึ่งเป็นหัวใจของกีตาร์ไฟฟ้าอีก 2 หรือ 3 ชุด ไว้บนลำตัวกีตาร์สำหรับแปลงสัณญาณเสียงเป็นกระแสไฟฟ้าเข้าไปยังเครื่องขยายอีกที กีตาร์ประเภทนี้ต้องมีเครื่องขยาย มิฉะนั้นเวลาเล่นต้องเอาหูไปแนบใกล้ ๆ ตัวกีตาร์ถึงจะได้ยินเสียง แต่ข้อดีก็คือเราสามารถที่จะปรับแต่งเสียงของมันได้อย่างอิสระด้วยการ control ปุ่ม volume หรือ tone และยังใช้ร่วมกับ effect ต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันมีการผลิตมามากมายหลายแบบเหลือเกิน เช่น distortion ,overdrive, flanger เป็นต้น ทำให้สามารถปรับแต่งสำเนียงกีตาร์ตามที่เราต้องการได้
6. กีตาร์ steel หรือ pedal steel guitar หลายคนอาจไม่คุ้นเคยกับเจ้ากีตาร์แบบนี้เท่าไรนัก ส่วนใหญ่กีตาร์แบบนี้จะเล่นในเพลงประเภทเพลง country และแบบ ฮาวาย เป็นส่วนมากเวลาเล่นจะเล่นด้วยสไลด์
ส่วนประกอบของกีต้าร์
เมื่อเพื่อนๆรู้จักประวัติที่มา ชนิดหรือประเภทของกีต้าร์กันมาแล้ว คราวนี้เราก็ต้องมารู้จักส่วนประกอบของมันกันก่อน ก่อนที่เราจะไปทำการเล่น มิเช่นนั้นอาจจะเล่นผิดๆ ถูกๆ ปรับสายหย่อน จนทำให้ดีดไม่ค่อยมีเสียง หรือ สายตึงจนอาจจะทำให้สายนั้นขาดกระเด็นมาจิ้มตาก็ได้ เพื่อที่จะไม่ต้องไปเสียตังค์ รักษาตา เราก็ควรที่จะต้องรู้จักส่วนประกอบของมันกันก่อนคราวนี้เราจะมาศึกษาส่วนประกอบต่างๆ ของกีต้าร์
1.ส่วนหัว ประกอบด้วย
1.1.ชุดลูกบิด โดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบที่ตัวลูกบิดหันไปด้านหลังตั้งฉากกับตัวกีต้าร์ แกนหมุนสายเป็นพลาสติกซึ่งจะใช้กับกีต้าร์คลาสสิค อีกแบบจะขนานกับตัวกีต้าร์หรือแกนหมุนสายตั้งฉากกับตัวร์กีต้าร์ ซึ่งใฃ้กับกีต้าร์โฟล์คหรือกีต้าร์ไฟฟ้าทั่วไป
2.1.คอกีต้าร์ คือส่วนที่เราใช้จับอคอร์ดเล่นโน๊ตต่างๆ คอกีต้าร์ที่ดีควรทำมาจากไม้มะฮอกกานี หรือไม้ซีดา คอกีต้าร์ต้องตรง ไม่มีรอยแตกหรือปริของเปลือกไม้
2.2.Finger bord เป็นแผ่นไม้ที่ติดลงบนคอกีต้าร์อีกชิ้น เป็นตัวที่ใฃ้ยึดเฟรตหรือลวดลายมุกประดับต่างๆ ไม้ที่นิยมใช้จะเป็นไม้โรสวูด หรือไม้อีโบนี
2.3.เฟรต (Fret) ทำมาจากโลหะฟังอยู่บนคอกีต้าร์ เป็นตัวที่จะกำหนดเสียงของโน๊ตดนตรีจากการกดสายกีต้าร์ลงบนเฟรตต่างๆ จไนวนของเฟรตขึ้นอยู่กับความยาวของคอกีต้าร์ ซึ่งแต่ละผู้ผลิตก็จะผลิตต่างกันไป ปกติกีต้าร์คลาสสิคจะมีประมาณ 18 ตัว กีต้าร์โฟล์คประมาณ 20 ตัว แต่กีต้าร์ไฟฟ้าซึ่งมีการโซโล่จึงมีฃ่องให้เล่นมากขึ้นประมาณ 22-24 ตัว
2.4.มุกประดับ จะฃ่วยในการสังเกตตำแหน่งของช่องกีต้าร์ อาจจะฝังที่ด้านข้างหรือด้านบนของฟิงเกอร์บอร์ด
3.1.ลำตัวกีต้าร์ (Body) ได้แก่ ด้านหน้า ด้านหลัง และด้านข้าง ไม้ต้องไม่มีรอยแตก ไม่มีตาไม้และลายไม้ที่ละเอียดไปตามความยาวจึงมีคุณภาพดี ส่วนเว้า้เรียกว่าเอว
3.2.โพรงเสียง (Sound Hole) ก็คือรูที่อยู่ด้านบนของลำตัวกีต้าร์ มีหน้าที่รับเสียงจากการสั่นของสายกีต้าร์ ทำให้เกิดเสียงก้องดังขึ้น
3.3.ปิคการ์ด (Pick Guard) มีไวเพื่อป้องกันปิคขูดกับลำตัวของกีต้าร์
3.4.สะพานสาย (Bridge) เป็นตัวยึดสายให้ติดกับลำตัวของกีต้าร์ และยึดสายด้วยหมุดยึดสาย (Pin) แต่บางรุ่นจะไม่ใช้หมุด แต่สอดสายจากด้านล่างของสะพานสาย ไม่ต้องพันสาย
3.5.หย่อง (Saddle) จะยึดอยู่กับสะพานสาย เพื่อรองรับสายกีต้าร์ทั้ง 6 สายมีทั้งแบบตรงและแบบโค้ง บางแบบก็แยกเป็น 2 ชิ้น
วิธีการเลือกซื้อ
เพื่อนๆ หลายคนคงอยากจะซื้อกีต้าร์มาเล่น หรือ ชอบฟังเสียงของมัน ถ้าไม่เคยเล่นหรือเพิ่งหัดเล่น ควรจะไปสอบถามกับผู้ที่เล่นเป็นหรือเล่นมาก่อน เขาอาจจะช่วยเราได้เยอะ แล้ว ต้องรู้ว่า ตัวเราชอบแนวไหน เพราะกีต้าร์แต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น นั้นจะให้เสียง,อารมณ์,ความรู้สึก ที่ต่างกัน
เช่น Fender จะให้แนวออ่อนหวาน นุ่มนวล เสียงใส
Gibson จะให้แนว หนักแน่น
Ibanez ก็จะเน้นไปทาง ร๊อค หรือแนวหนักๆ เช่นกัน
Yamaha กลางๆ
การที่จะไปซื้อก็ควรหาข้อมูล สักเล็กน้อยตามบอร์ดกีต้าร์ ต่างๆ หรืออาจโพสตั้งกระทู้ ต่างๆ ให้ผู้ที่มีความรู้ช่วยตอบ เรื่อง ยี่ห้อ รุ่น แล้วก็ หากได้รุ่นที่ถูกใจแล้ว ก็ควรเช็คดูราคาก่อน
เช่น Fender จะให้แนวออ่อนหวาน นุ่มนวล เสียงใส
Gibson จะให้แนว หนักแน่น
Ibanez ก็จะเน้นไปทาง ร๊อค หรือแนวหนักๆ เช่นกัน
Yamaha กลางๆ
การที่จะไปซื้อก็ควรหาข้อมูล สักเล็กน้อยตามบอร์ดกีต้าร์ ต่างๆ หรืออาจโพสตั้งกระทู้ ต่างๆ ให้ผู้ที่มีความรู้ช่วยตอบ เรื่อง ยี่ห้อ รุ่น แล้วก็ หากได้รุ่นที่ถูกใจแล้ว ก็ควรเช็คดูราคาก่อน
1.ควรเลือกร้านที่สามารถให้เราลองกีต้าร์ได้ ตามสบายแบบ นั่งเล่นได้นาน ไม่ควรจะซื้อกับร้านที่ไม่ให้ลองเสียง เพราะบางทีกีต้าร์ แต่ละตัวแม้รุ่นเดียวกัน บางทีเสียงอาจจะต่างกันเล็กน้อย บางทีอาจทำให้เราไม่ชอบไปเลย
2.อย่าซื้อตามเพื่อน หมายความว่า คนอื่นบอกว่ารุ่นนี้ดี รุ่นนี้เสียงดี เราควรที่จะ เอาตัวที่เราชอบที่สุด เพราะเพื่อนๆหลายคนมักจะซื้อตามเพื่อน เห็นมันเท่ดีโดยที่ไม่ได้ลองเสียง หรือ ลักษณะว่าเหมาะกับตัวเราหรือไม่
3.รูปทรงภายนอก อันนี้ก็สำคัญเช่นกัน เดี๋ยวนี้มีรูปทรงแปลกๆ เช่น รูปทรงเฮลโหลคิตตี้ รูปทรงดอกไม้ ทรงSG ทรงLP ฯลฯ
อาจทำให้เราหวั่นไหวหรือยากซื้อเต็มไปหมดก็ได้ ก็แล้วแต่ผู้ซื้อละกัน แต่ขอแนะนำ เครื่องดนตรี ที่สำคัญคือเสียงต้องมาก่อนรูปทรง
4.ดูหลายๆร้าน บางทีร้านนั้นอาจมีตัวที่ชอบมากกว่า หรือราคาดีกว่าประมาณนี้
อาจทำให้เราหวั่นไหวหรือยากซื้อเต็มไปหมดก็ได้ ก็แล้วแต่ผู้ซื้อละกัน แต่ขอแนะนำ เครื่องดนตรี ที่สำคัญคือเสียงต้องมาก่อนรูปทรง
4.ดูหลายๆร้าน บางทีร้านนั้นอาจมีตัวที่ชอบมากกว่า หรือราคาดีกว่าประมาณนี้
วิธีการหัดเล่นกีต้าร์
ในการหัดเล่นกีต้าร์นั้นเราจะต้องรู้พื้นฐานในการจับคอร์ดเสียก่อนซึ่งจะจับคอร์ดได้นั้นตัองดูตามตารางคอร์ดกีต้าร์ บางคนอาจจะยังดูไม่เป็นสำหรับคนที่หัดเล่นใหม่ๆ แต่มันไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแค่หยิบกีต้าร์ขึ้นมาแล้วใช้นิ้วกด ไปตามจุดที่อยู่บนเส้นกีต้าร์ตามรูปภาพ พอกดได้แล้วก็หมั่นฝึกกดอยู่บ่อยๆเพื่อที่จะเกิดการเคยชินจนสาสารถเล่นได้ในที่สุด
การหัดไล่ scale กีต้าร์
ในการเล่นกีต้าร์นั้นนอกจากจะหัดจับคอร์ดแล้วนั้นที่สำคัญก็คือการหัดไล่สเกลล์ซึ่งการไล่สเกลล์นั้นเป็นพื้นฐานในการลีดกีต้าร์ที่นักลีดกีต้าร์ทั้งหลายทำกันอยู่ก็มาจากการฝึกหัดไล่สเกลล์กัน
ทั้งนั้น การไล่สเกลล์นั้นเป็นการไล่นิ้วลงไปบนตัวโน๊ตของกีต้าร์ซึ่งจะไล่แบบไหนนั้นก็แล้วแต่ผู้เล่นจะถนัดนั่นเองดังตัวอย่างตารางสเกลล์ การจับคอร์ดกีต้าร์
ในการหัดเล่นกีต้าร์นั้นเราจะต้องรู้พื้นฐานในการจับคอร์ดเสียก่อนซึ่งจะจับคอร์ดได้นั้นตัองดูตามตารางคอร์ดกีต้าร์ บางคนอาจจะยังดูไม่เป็นสำหรับคนที่หัดเล่นใหม่ๆ แต่มันไม่ใช่เรื่องยากเลย เพียงแค่หยิบกีต้าร์ขึ้นมาแล้วใช้นิ้วกด ไปตามจุดที่อยู่บนเส้นกีต้าร์ตามรูปภาพ พอกดได้แล้วก็หมั่นฝึกกดอยู่บ่อยๆเพื่อที่จะเกิดการเคยชินจนสาสารถเล่นได้ในที่สุด
การหัดไล่ scale กีต้าร์
ในการเล่นกีต้าร์นั้นนอกจากจะหัดจับคอร์ดแล้วนั้นที่สำคัญก็คือการหัดไล่สเกลล์ซึ่งการไล่สเกลล์นั้นเป็นพื้นฐานในการลีดกีต้าร์ที่นักลีดกีต้าร์ทั้งหลายทำกันอยู่ก็มาจากการฝึกหัดไล่สเกลล์กัน
ทั้งนั้น การไล่สเกลล์นั้นเป็นการไล่นิ้วลงไปบนตัวโน๊ตของกีต้าร์ซึ่งจะไล่แบบไหนนั้นก็แล้วแต่ผู้เล่นจะถนัดนั่นเองดังตัวอย่างตารางสเกลล์ การจับคอร์ดกีต้าร์
การจับคอร์ดถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเล่นกีต้าร์เลยก็ว่าได้ ในโลกนี้มีคอร์ดอยู่มากมายมหาสาร
มีผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่าคอร์ดนั้นมีอยู่เป็นร้อยเป็นพันธ์เลยทีเดียว (โห้... ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ) ใครคิดวิธีจับแบบใหนได้ก็อาจจะเรียกเป็นคอร์ดใหม่เลยก็ได้ แต่อย่าพึ่งตกใจไปน่ะค่ะ คอร์ดหลักๆ นั้นมีอยู่แค่ 7 คอร์ดเท่านั้นเอง คือ A B C D E F และ G ส่วนที่เหลือนั้นก็จะเป็นพวกน้ำจิ้มน้ำปลาทั้งนั้นในที่นี้จะสอนวิธีการจับคอร์ดง่ายๆ และวิธีการดูคอร์ดจากรูปภาพ ซึ่งถ้าเพื่อนๆรู้วิธีเหล่านี้แล้ว เพื่อนๆก็จะสามารถนำไปประยุคในการจับคอร์ดอื่นๆ ได้ เอาหละ เรามาเริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ
จากรูป เป็นคอกีต้าร์ในลักษณะหันหน้าเข้าหาตัว เส้นในแนวตั้งก็คือสายกีต้านั้นเอง โดยเลข 1 ที่กำกับอยู่ข้างบนก็คือสายที่ 1 หรือสายที่เล็กที่สุด ส่วนเลขหกก็คือสายที่ใหญ่ที่สุด
เส้นในแนวนอนก็คือเส้นขั้นระหว่างเฟร็ต โดยเฟร็ตบนสุดก็คือเฟร็ตที่ 1 และถัดลงมาก็คือเฟร็ตที่ 2, 3, 4 .... ไปเรื่อยๆ
ส่วนรูปด้านขวานี้ เป็นตัวอย่างของการจับคอร์ด C ซึ่งตัวเลขในลูกกลมๆ สีแดงก็คือนิ้วมือซ้ายนั้นเอง โดยรายละเอียดมีดังนี้
1 = นิ้วชี้ 2 = นิ้วกลาง 3 = นิ้วนาง 4 = นิ้วก้อย
ตัวเลขต่างๆ เหล่านี้ที่จริงแล้วในตารางคอร์ดทั่วๆ ไปจะไม่มีกำกับไว้ ถ้าไม่มีแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าจับคอร์ดได้ถูกต้องหรือผิด? คำตอบก็คือไม่มีใครถูกใครผิดหรอกค่ะ เพราะการจับนั้นไม่ตายตัว ใครถนัดแบบใหนก็จับแบบนั้น แต่บางทีการจับให้ถูกต้องนั้นก็สำคัญเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่นการจับคอร์ด G จากรูปจะเห็นว่าเราไม่จำเป็นที่จะต้องใช้นิ้วก้อย (เลข 4) ในการจับเลย เพราะนิ้วชิ้วเรายังว่างอยู่นิ หลายคนโดยเฉพาะมือใหม่ๆ ก็เลยใช้นิ้วชี้กดแทนนิ้วกลาง ส่วนนิ้วกลางก็เอาไปกดที่นิ้วนาง และนิ้วนางที่นิ้วก้อย ทำให้เราไม่ต้องใช้นิ้วก้อยเลย (ผมก็เคยจับแบบนี้มาตั้งนาน) ซึ่งดูเหมือนจะง่ายกว่าแบบแรกเยอะ เพราะมือใหม่ส่วนใหญ่จะไม่สันทัดกับการใช้นิ้วก้อยซักเท่าไหร
แต่ถ้าเพื่อนๆที่เล่นกีต้าร์เป็นแล้ว และเพื่อนๆลองเล่นเพลงจากหนังสือเพลง เพื่อนๆก็จะเจอกับคอร์ด Gsus4 ซึ่งจะต้องเปลี่ยนจากคอร์ด G ไปจับ Gsus4 (มันมักจะมาด้วยกัน) ซึ่งคุณจำเป็นมากที่จะต้องใช้นิ้วชี้ แต่นิ้วชี้คุณกลับใช้ไปแล้วซะนี่สรุปเลยละกันน่ะครับว่า การจับคอร์ดนั้นไม่ตายตัวเสมอไป แต่การจับให้ถูกหรือเหมาะสมก็เป็นสิ่งที่ควรทำค่ะ
มีผู้รู้ท่านหนึ่งกล่าวไว้ว่าคอร์ดนั้นมีอยู่เป็นร้อยเป็นพันธ์เลยทีเดียว (โห้... ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ) ใครคิดวิธีจับแบบใหนได้ก็อาจจะเรียกเป็นคอร์ดใหม่เลยก็ได้ แต่อย่าพึ่งตกใจไปน่ะค่ะ คอร์ดหลักๆ นั้นมีอยู่แค่ 7 คอร์ดเท่านั้นเอง คือ A B C D E F และ G ส่วนที่เหลือนั้นก็จะเป็นพวกน้ำจิ้มน้ำปลาทั้งนั้นในที่นี้จะสอนวิธีการจับคอร์ดง่ายๆ และวิธีการดูคอร์ดจากรูปภาพ ซึ่งถ้าเพื่อนๆรู้วิธีเหล่านี้แล้ว เพื่อนๆก็จะสามารถนำไปประยุคในการจับคอร์ดอื่นๆ ได้ เอาหละ เรามาเริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ
จากรูป เป็นคอกีต้าร์ในลักษณะหันหน้าเข้าหาตัว เส้นในแนวตั้งก็คือสายกีต้านั้นเอง โดยเลข 1 ที่กำกับอยู่ข้างบนก็คือสายที่ 1 หรือสายที่เล็กที่สุด ส่วนเลขหกก็คือสายที่ใหญ่ที่สุด
เส้นในแนวนอนก็คือเส้นขั้นระหว่างเฟร็ต โดยเฟร็ตบนสุดก็คือเฟร็ตที่ 1 และถัดลงมาก็คือเฟร็ตที่ 2, 3, 4 .... ไปเรื่อยๆ
ส่วนรูปด้านขวานี้ เป็นตัวอย่างของการจับคอร์ด C ซึ่งตัวเลขในลูกกลมๆ สีแดงก็คือนิ้วมือซ้ายนั้นเอง โดยรายละเอียดมีดังนี้
1 = นิ้วชี้ 2 = นิ้วกลาง 3 = นิ้วนาง 4 = นิ้วก้อย
ตัวเลขต่างๆ เหล่านี้ที่จริงแล้วในตารางคอร์ดทั่วๆ ไปจะไม่มีกำกับไว้ ถ้าไม่มีแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าจับคอร์ดได้ถูกต้องหรือผิด? คำตอบก็คือไม่มีใครถูกใครผิดหรอกค่ะ เพราะการจับนั้นไม่ตายตัว ใครถนัดแบบใหนก็จับแบบนั้น แต่บางทีการจับให้ถูกต้องนั้นก็สำคัญเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่นการจับคอร์ด G จากรูปจะเห็นว่าเราไม่จำเป็นที่จะต้องใช้นิ้วก้อย (เลข 4) ในการจับเลย เพราะนิ้วชิ้วเรายังว่างอยู่นิ หลายคนโดยเฉพาะมือใหม่ๆ ก็เลยใช้นิ้วชี้กดแทนนิ้วกลาง ส่วนนิ้วกลางก็เอาไปกดที่นิ้วนาง และนิ้วนางที่นิ้วก้อย ทำให้เราไม่ต้องใช้นิ้วก้อยเลย (ผมก็เคยจับแบบนี้มาตั้งนาน) ซึ่งดูเหมือนจะง่ายกว่าแบบแรกเยอะ เพราะมือใหม่ส่วนใหญ่จะไม่สันทัดกับการใช้นิ้วก้อยซักเท่าไหร
แต่ถ้าเพื่อนๆที่เล่นกีต้าร์เป็นแล้ว และเพื่อนๆลองเล่นเพลงจากหนังสือเพลง เพื่อนๆก็จะเจอกับคอร์ด Gsus4 ซึ่งจะต้องเปลี่ยนจากคอร์ด G ไปจับ Gsus4 (มันมักจะมาด้วยกัน) ซึ่งคุณจำเป็นมากที่จะต้องใช้นิ้วชี้ แต่นิ้วชี้คุณกลับใช้ไปแล้วซะนี่สรุปเลยละกันน่ะครับว่า การจับคอร์ดนั้นไม่ตายตัวเสมอไป แต่การจับให้ถูกหรือเหมาะสมก็เป็นสิ่งที่ควรทำค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น